บทบาทของ Logistics

บทบาทของ Logistics ที่มีต่อแต่ละ Sector อาจมีได้ดังต่อไปนี้

                 บทบาทของ Logistics ที่มีต่อภาคธุรกิจ
                1)   Economy of Scale & Speed ทำให้ธุรกิจเป็นการผลิตและส่งมอบสินค้าแบบพอดี
                       กับความต้องการของลูกค้า
2)  Cost Efficient    มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ
3)  Competitiveness มีความสามารถทางการแข่งขันที่ดีกว่า

บทบาทของ Logistics ที่มีต่อภาคการส่งออก
1)  ทำให้มีการจัดการวัตถุดิบและการเคลื่อนย้ายสินค้าเป็นแบบ Just In Time ได้รับความเชื่อถือจากต่างประเทศ
2)   เพิ่มศักยภาพการแข่งขัน โดยลดต้นทุนด้าน Logistics ไม่น้อยกว่า 10-15% หรือประมาณ 96,000 ล้านบาทต่อปี (ปี 2547 มูลค่าส่งออกของไทย USD 80,000 ล้าน คิดเป็นต้นทุนลอจิสติกส์  640,000 ล้านบาท)

3)   ช่วยส่งเสริมให้มีการค้าชายแดนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ   ประสิทธิผล

บทบาทของ Logistics ที่มีต่อภาคราชการ
1)   เพื่อให้มีการกระจายงบประมาณได้อย่างรวดเร็ว
2)   เป็นการใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ
3)   สนองนโยบายประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Citizen Center)
      
     บทบาทของ Logistics ที่มีต่อภาคเกษตร
1)   เคลื่อนย้ายผลิตผลไปสู่ตลาดอย่างรวดเร็ว
2)   ลดต้นทุนรวมของผลิตผล
3)   ลดความเสียหายจากการเน่าเสีย
4)   มีการพัฒนารูปแบบ Packaging และ ศูนย์กระจายสินค้า
5)   ได้รับข้อมูลข่าวสารที่ Update เพื่อกำหนดพื้นที่การเกษตร
6)   เกษตรกรมีความเป็นอยู่ที่ดี

บทบาทของ Logistics ที่มีต่อภาคสังคม
1)   ช่วยกระจายสินค้าของธุรกิจรากหญ้า และ OTOP ได้อย่างรวดเร็ว
2)   ลดต้นทุน Logistics ของ SMEs โดยวิธี Cost Sharing
3)   ประชาชนได้บริโภคสินค้าที่ดีและมีต้นทุนต่ำ
4)   ลดอุบัติภัยที่เกิดจากการขนส่ง
5)   เกี่ยวกับสภาพแวดล้อม
 อ้างอิง https://www.linkedin.com/pulse/
why-logistics-industry-always-next-big-thing-pulkit-khare

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น